(Mystus nemurus) เป็นปลาน้ำจืดที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำลำคลองของไทย และประเทศใกล้เคียง เช่น มาเลเซีย จัดเป็นปลากินเนื้อ โดยกินลูกปลาเล็ก ๆ และสัตว์ที่เน่าเปื่อย โดยปกติจะอาศัยในแหล่งน้ำไหลเพราะเป็นปลาที่ต้องการปริมาณอ๊อกซิเจนสูง ปลากดเหลือง เป็นปลาที่คนในภาคใต้นิยมบริโภคมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดตรัง พัทลุง สงขลา และมาเลเซีย
ในส่วนของการเพาะพันธ์ปลากดเหลืองนั้น เท่าที่ทราบในภาคใต้เริ่มทำการเพาะพันธุ์ที่สถานีประมงสงขลา อำเภอคลองหอยโข่ง โดย คุณวสันต์ ศรีวัฒนะ และทีมนักวิชาการประมง และผู้เขียนได้เพาะที่จังหวัดตรังในเวลาใกล้เคียงกัน
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
ปลากดเหลืองเพศผู้และเพศเมีย จะมีความแตกต่างกันตรงติ่งเพศ โดยเพศผู้จะมีติ่งเพศยาวเรียว ลักษณะเดียวกับปลาดุกเพศผู้ ส่วนเพศเมียจะมีติ่งเพศกลมป้อม และมีสีชมพูเรื่อ ๆ ในฤดูผสมพันธุ์
พ่อแม่พันธุ์ปลากดเหลืองสามารถรวบรวมได้จากแหล่งต่าง ๆ คือ
1. รวบรวมจากธรรมชาติโดยจับจากแม่น้ำลำคลอง และสามารถรวบรวมไว้ใช้ในฤดูผสมพันธุ์
2. จากฟาร์มเลี้ยงปลาต่าง ๆ ซึ่งโดยปกติ มักจะมีพ่อแม่พันธุ์ปลากดเหลืองสะสมไว้ แต่ควรคัดพ่อและแม่พันธุ์จากต่างฟาร์มกันมาผสมกัน เนื่องจากปลาที่สะสมไว้นั้นมักมีเลือดชิด จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกปลาที่ได้เลี้ยงไม่โต
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียม
ฮอร์โมนที่นิยมใช้ฉีดแม่ปลา คือ suprefact ใช้ร่วมกับ motilium
อัตราการใช้ฮอร์โมน
แม่ปลา 1 กิโลกรัมใช้ suprefact 25 45 ไมโครกรัม
แม่ปลา 1 กิโลกรัมใช้ motilium 3 5 มิลลิกรัม
โดยปกติอัตราการฉีดสารละลายฮอร์โมนเข้าตัวปลาประมาณ 0.5-1 cc. ต่อแม่ปลา 1 กิโลกรัม การกำหนดเช่นนี้เพื่อไม่ให้สารละลายฮอร์โมนเข้มข้นหรือเจือจางเกินไป เนื่องจากถ้าเข้มข้นสูงสารละลายที่อาจหายไปปริมาณเพียงเล็กน้อยก็มีเนื้อของฮอร์โมนอยู่มาก และถ้าใช้ความเข้มข้นต่ำมากการ จะให้ได้ปริมาณฮอร์โมนที่เพียงพอต่อการกระตุ้นการวางไข่อาจต้องใช้ปริมาณสารละลายมากซึ่งเมื่อฉีดเข้าไปในตัวปลาอาจทำให้ปลาตายได้
ตัวอย่าง ต้องการฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลากดเหลือง 5 กิโลกรัม จำนวน 10 ตัว จะใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ suprefact และ motilium เท่าไรต้องเติมน้ำเท่าไรกับปลา 1 กิโลกรัมให้ฉีดสารละลายได้ 0.5 cc.
วิธีทำ
1. การใช้ suprefact เนื่องจากโจทย์ไม่ได้กำหนด ดังนั้นผู้ผสมเทียมต้องกำหนดเองโดยดูความสมบูรณ์ของไข่ปลาเป็นเกณฑ์
แม่ปลา 1 กิโลกรัม ต้องใช้ suprefact = 30 ไมโครกรัม
ดังนั้นแม่ปลา 1 กิโลกรัม ต้องใช้ suprefact = 30 x 5 = 150 ไมโครกรัม
แต่ suprefact 10,000 ไมโครกรัม จากปริมาณ 10 cc.
ดังนั้น 150 150 x 10 = 0.15 cc.
10,000
ดังนั้นจึงต้องดูด suprefact มา 0.15 cc.
2. การใช้ motilium กำหนดใช้ในอัตรา 5 มิลลิกรัมต่อ ปลา 1 กิโลกรัม
นั่นคือ ปลา 1 กิโลกรัมใช้ motilium = 5 มิลลิกรัม
แต่ ปลา 5 = 5x5 = 25 มิลลิกรัม
(motilium 1 เม็ด มีเนื้อสาร = 10 มิลลิกรัม)
แต่ต้องการใช้ 25 มิลลิกรัม ดังนั้นต้องใช้ Motilium = ?
Motilium 10 มิลลิกรัม = 1 เม็ด
25 = 1x 25 = 2.5 เม็ด
ต้องใช้ motilium =
2.5 เม็ด 2
3. ต้องเติมน้ำ เท่าไร เพื่อให้สารละลายเพียงพอฉีดปลาจำนวน 5 กิโลกรัม
กำหนดว่า ปลา 1 กิโลกรัมต้องใช้สารละลาย = 0.5 c.c.
นั่นคือสารละลายทั้งหมด 2.5 c.c. ใช้สำหรับฉีดปลา 5 กิโลกรัม หรือ
ปลาจำนวน 10 ตัว) โดยสมมุติว่าขนาดของแม่ปลาใกล้เคียงกัน และละลายโมทิเลี่ยมพร้อมกับฮอร์โมนเลย
ดังนั้นน้ำที่จะเติม = 2.5 - 0.15 =
2.35 c.c. 3
หมายเหตุ ปริมาณสารละลาย 2.5 cc. คือ สารละลายที่ประกอบด้วย suprefact
0.15 cc. + motilium 2.5 เม็ด + น้ำ
หรืออาจจะเป็น suprefact + สารละลาย motilium + น้ำ ก็แล้วแต่การปฏิบัติของแต่ละคน
ดังนั้นปริมาณน้ำที่จะเติม 2.5 - suprefact - motilium
แต่เนื่องจาก motilium เป็นของแข็ง ดังนั้นการจะละลาย motilium จะต้องสูญเสียน้ำไปส่วนหนึ่ง ซึ่งโดยปกติจะเพิ่มน้ำเข้าไปอีกโดยเพิ่มจากยอดรวมของสารละลาย การละลายโมทิเลี่ยมให้เป็นสารละลายก่อน แล้วค่อยคิดคำนวณปริมาณที่จะเอามาใช้ทีหลังก็ได้
การผสมเทียม
การผสมเทียมปลากดเหลืองทำได้แบบเดียวกับปลาดุก โดยการรีดไข่หลังการฉีดฮอร์โมน 12-14 ชั่วโมง ไข่ปลากดเลืองจะเป็นไข่ชนิดจมติด ดังนั้นต้องรีดใส่ภาชนะที่แห้งสนิท ส่วนน้ำเชื้อปลาเพศผู้นั้นได้จากการผ่าช่องท้องเพศผู้เพื่อเอาอัณฑะมาขยี่ในน้ำสะอาด แล้วเอาน้ำเชื้อนั้นมาผสมกับไข่ ใช้ขนไก่คนจนกระทั่งน้ำเชื้อคลุกเคล้ากับไข่ดีแล้วจึงล้างไข่ให้สะอาด ในการผสมเทียมนั้นจะใช้วิธีแห่งดัดแปลง โดยใช้ตัวผู้ 2-3 ตัว ต่อตัวเมีย 1 ตัว
การฟักไข่ทำได้โดยโรยไข่บนแผงฟัก ซึ่งใส่ไว้ในบ่อเพาะฟักที่มีระดับน้ำ 20-30 เซนติเมตร มีการให้อากาศและอาจมีการฉีดพ่นน้ำให้ล้นตลอดเวลาเพื่อเมปริมาณอ๊อกซิเจน จะมีการฉีดพ่นน้ำเมื่อไข่ใกล้จะฟักเป็นตัวเพื่อป้องกันลูกปลาไหลออก การฟักไข่ใช้เวลา 36-48 ชั่วโมง ก็จกแผงออก
การอนุบาล
การอนุบาลลูกปลากดเหลือง เป็นขั้นตอนที่ยากพอสมควร เพราะลูกปลากดเหลืองมักจะกัดและกินกันเอง แต่ก็สามารถทำให้รอดในอัตราที่สูงได้โดยการให้อาหารเป็น คือ ไรแดงที่ยังมีชีวิตอยู่ ตลอดเวลาอย่าปล่อยให้ลูกปลาหิว ให้ไรแดงหรืออาร์ตีเมีย ประมาณ 1 สัปดาห์หรือตลอดถ้าหาไม่ยาก หลังจากนั้นฝึกให้กินอาหารผงโดยการปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ใส่ไว้ให้ทั่วบ่อ หรือติดไว้ตามข้างบ่อบ้างโดยให้ครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ และควรทำความสะอาดบ่ออย่างน้อยวันละครั้งแต่อย่าให้ปลาตื่นตกใจ เพราะจะทำให้ลูกปลาเครียด และกัดกันเอง จนอายุประมาณ 2 สัปดาห์สามารถย้ายลูกปลาไปอนุบาลในบ่อดินที่เตรียมไว้แล้วซึ่งถ้ามีไรแดงเกิดในบ่อก็จะเป็นการดี แต่ถ้าไม่มีไรแดงก็ควรนำไรแดงจากแหล่งอื่นมาใส่ไว้เยอะๆ ให้เป็นอาหารเสริม ส่วนอาหารปกตินั้นยังคงให้อาหารผงปั้นเป็นก้อน โยนให้ทั่วบ่อ และควรตรวจสอบว่ากินหมดหรือไม่โดยใส่ยอไว้ด้วย การให้อาหารให้วันละ 3-4 มื้อ ประมาณ 1 สัปดาห์ ก็เริ่มฝึกให้ลูกปลากินอาหารเม็ดเล็ก ๆ โดยแรกๆ เสริมไปกับการให้อาหารผงปั้นก่อนครั้งละน้อย ๆ จนสามารถให้อาหารเม็ดอย่างเดียวได้ รวมเวลาในการอนุบาลประมาณ 30-40 วัน ก็สามารถลากอวนจับลูกปลามาแยกขนาดและพักรอจำหน่ายหรือนำไปเลี้ยงได้